เข่า เป็นข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยในการเคลื่อนไหว ทั้งการเดิน วิ่ง กระโดด หรือหมุนตัว จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายอย่างหนักและต่อเนื่อง หากไม่ดูแลให้เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหากับข้อต่อเข่าได้ในระยะยาว

สาเหตุของการบาดเจ็บที่เข่าในกีฬา
• การบิดหรือหมุนเข่าฉับพลัน ขณะเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เทนนิส
• กระแทกโดยตรงที่เข่า จากการล้ม หรือชนระหว่างเล่น
• ใช้งานหนักเกินไป เช่น วิ่งระยะไกล โดยไม่มีการวอร์มอัปหรือยืดกล้ามเนื้อ
• กล้ามเนื้อรอบเข่าอ่อนแรง ทำให้เข่าขาดการพยุงที่ดี
• รองเท้า/อุปกรณ์ไม่เหมาะสม หรือพื้นผิวลื่น ทำให้เกิดการเสียหลัก

อาการบาดเจ็บที่เข่าที่พบบ่อย
1. เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL Tear) พบมากในกีฬาที่ต้องหยุดกระทันหันหรือเปลี่ยนทิศทางเร็ว
อาการ: เจ็บเฉียบพลัน เข่าบวม เดินไม่มั่นคง

2. หมอนรองกระดูกเข่าฉีก (Meniscus Tear) เกิดจากการหมุนข้อเข่าแรง ๆ หรือบิดเข่าเกินช่วง
อาการ: ปวดเข่าด้านใน/นอก มีเสียง “ก๊อบแก๊บ” หรือเข่าล็อกงอไม่ได้

3. เอ็นด้านข้างเข่าอักเสบ (MCL/LCL Sprain) บิดเข่าไปด้านข้าง หรือกระแทกจากด้านข้าง
อาการ: เจ็บเข่าด้านในหรือด้านนอก เข่าหลวม ไม่มั่นคง

4. ข้อเข่าเคลื่อน (Patellar Dislocation) กระดูกสะบ้าเคลื่อนออกจากตำแหน่ง โดยเฉพาะจากแรงกระแทก
อาการ: ปวด บวม รู้สึกสะบ้าไม่อยู่ที่เดิม

5. ภาวะเข่าเสื่อมก่อนวัย (Overuse Injury) วิ่งหรือเล่นซ้ำ ๆ โดยไม่มีเวลาพักเพียงพอ
อาการ: เจ็บเมื่อใช้งาน เข่าตึงหรือปวดตลอดวัน

การวินิจฉัย
แพทย์อาจตรวจด้วย:

• ตรวจร่างกายและสอบถามประวัติการบาดเจ็บ
• เอกซเรย์ (X-ray) เพื่อตรวจดูกระดูก
• MRI เพื่อดูเส้นเอ็น หมอนรองกระดูก และเนื้อเยื่ออ่อน
• อัลตราซาวด์ หรือ CT Scan ในบางกรณี

แนวทางการรักษา ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ:
กรณีอาการไม่รุนแรง:
• พักการใช้งาน (Rest)
• ประคบเย็น (Ice)
• พันผ้ายืด (Compression)
• ยกเข่าสูง (Elevation)
• รับประทานยาแก้ปวดหรือยาลดการอักเสบ

กรณีอาการปานกลาง-รุนแรง:
• ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเข่า (Knee brace)
• ทำกายภาพบำบัด
• การฉีดยาลดการอักเสบ หรือ PRP
• การผ่าตัด ซ่อมแซมเอ็นหรือหมอนรองกระดูกในกรณีที่จำเป็น

การป้องกันการบาดเจ็บที่เข่า
• อบอุ่นร่างกาย (warm-up) และยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังเล่นกีฬา
• ใส่รองเท้าที่เหมาะกับกิจกรรม มีแรงยึดเกาะดี
• เล่นกีฬาอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมเกินไป
• ฝึกกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เช่น กล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps/Hamstrings)
• พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว


บริการของโรงพยาบาลของเรา
– ตรวจวินิจฉัยอาการบาดเจ็บที่เข่าโดยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
– การทำ MRI เข่าโดยไม่ต้องรอนาน
– โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า
– การผ่าตัดเข่าแบบแผลเล็ก (Arthroscopy)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-769-2000