ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท พร้อมดูแลทุกปัญหาโรคหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และ เครื่องมือทันสมัยครบวงจร

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท มีความพร้อมในการดูแลทุกปัญหาโรคหัวใจ ทั้งโรคเส้นเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน และ ปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสวนรักษาหลอดเลือดหัวใจ ที่มีประสบการณ์สูง และ เครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย โดยมีศักยภาพการให้บริการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้

  • โรคเส้นเลือดหัวใจตีบแบบเรื้อรัง และ ฉับพลัน
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคลิ้นหัวใจรั่ว/ตีบ
  • โรคหัวใจโต
  • ภาวะหัวใจทำงานต่ำกว่าปรกติ
  • ภาวะน้ำท่วมปอด

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • อัลตร้าซาวน์หัวใจ (Echocardiogram)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise stress test)
  • การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitoring)
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนหัวใจ (CAG)
  • การแก้ไขหลอดเลือดตีบตันผ่านสายสวนหัวใจด้วยบอลลูนและ ลวดค้ำยันผนังหลอดเลือด (PCI)
  • การขยายลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) ด้วยบอลลูน (PBMV)
  • การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (EP + RF ablation)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร (PPM, AICD, CRT)
  • การผ่าตัดบายพาส เส้นเลือดหัวใจ (CABG)
  • การผ่าตัดเปลี่ยน/ซ่อมลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจแต่กำเนิด

  • แพทย์ผู้ทำการรักษา จะอธิบายถึงข้อบ่งชี้ และความเสี่ยงในการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ
  • งดน้ำและอาหาร ก่อนทำหัตถการ ประมาณ 6 ชั่วโมง โดยเช้าวันที่ทำการฉีดสีสามารถทานยาได้ตามปกติ รวมถึงยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน และ โคพิโดเกล โดยยาที่ต้องงดได้แก่ยาเบาหวาน และ ยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน แพทย์จะให้งดก่อน ประมาณ 5 วัน
  • เมื่อผู้ป่วยถึงห้องสวนหัวใจ จะได้นอนบนเตียงเพื่อเตรียมการตรวจ
  • พยาบาลจะทายาฆ่าเชื้อ พร้อมกับห่มตัวผู้ป่วยด้วยผ้าอบฆ่าเชื้อ
  • แพทย์ฉีดยาชาที่บริเวณขาหนีบข้างขวา (แขนขวาขาในบางราย) ขณะทำผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาระหว่างการฉีดสีวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บ หากมีอาการเจ็บให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลในห้องทันที
  • แพทย์จะใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปทางหลอดเลือดจนถึงหัวใจ แล้วใช้เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพหลอดเลือดเป็นอย่างรวดเร็ว ภาพที่ได้แสดงให้เห็นการไหลของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างละเอียด ขั้นตอนการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจใช้เวลาประมาณ 15–30 นาที
  • เมื่อเสร็จผู้ป่วยและญาติจะได้รับคำอธิบายผลการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางโดยตรง พร้อมดูภาพผลการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ
  • ผู้ป่วยกลับห้องพักเพื่อคอยสังเกตอาการที่ผิดปกติอย่างใกล้ชิดและทำการกดห้ามเลือดบริเวณขาหนีบด้านขวา หรือ ข้อมือในบางราย
  • ในบางรายที่มีอาการผิดปกติเช่นเจ็บหน้าอกใจสั่น ความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ท่านจะต้องนอนพักที่หอผู้ป่วยหนักหัวใจ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าจะมีอาการปกติจึงส่งกลับห้องพักผู้ป่วย

คือ อวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและภายในกลวง อยู่บริเวณส่วนกลางใต้กระดูกหน้าอกค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจของคนเราแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน (Sinus Node) กระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหัวใจ เริ่มจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้ายและลงหัวใจห้องล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ


ปัจจุบันโรคหัวใจ และหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คนเลยทีเดียว

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มักมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ บวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม เลี้ยงไม่โต
  • แพทย์ฉีดยาชาที่บริเวณขาหนีบข้างขวา (แขนขวาขาในบางราย) ขณะทำผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาระหว่างการฉีดสีวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บ หากมีอาการเจ็บให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลในห้องทันที
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง

หากท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


  • ภาวะหัวใจล้มเหลว / หัวใจอ่อนกำลัง (Heart Failure) ภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ได้หมายความว่า หัวใจจะหยุดทำงาน แต่เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง ทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
  • หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้มีการตีบตันในหลอดเลือด เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ อาการ เจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่าย จุกแน่น เสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก เหงื่อออก ใจสั่น เป็นลม อาจเป็นแบบฉับพลันและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือที่เรียกว่า หัวใจพิบัติ (Heart Attack) ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม ถือเป็นภาวะวิกฤติที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การส่งกระแสลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมัน ทำให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อาการ ใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หมดสติ หรือ หัวใจวาย ขึ้นกับอัตราเร็วของหัวใจเต้น ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งสาเหตุ อย่างไรก็ตามถ้าหัวใจบีบตัวได้ปกติ โอกาสเกิดหัวใจวายก็น้อย การรักษา ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำได้โดยการรักษาด้วยยา เริ่มด้วยยาคลายเครียด ในกรณีที่จับความผิดปกติไม่ได้ แต่ถ้าพบความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจให้ยาต้านการเต้นผิดปกติกลุ่มต่าง ๆ หรือยาอื่น ๆ หรือใช้วิธีการจี้หัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุและการฝัง เครื่องมือพิเศษ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหักโหม สูบบุหรี่ ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
  • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หลอดเลือดแดงใหญ่ในร่างกายมีหน้าที่นำเลือดแดงจากหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย มีความยาวตั้งแต่ในช่องอกจากหัวใจไปจนถึงช่องท้อง ความผิดปกติที่ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหลอดเลือด ไม่ว่าจะเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือความผิดปกติอื่นใดก็จะมีผลทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการโป่งพองและแตกออกได้ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องและในช่องอก
  • หัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตของหัวใจขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการมีรูโหว่ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดออกผิดจากตำแหน่งปกติ เป็นต้น สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram
  • หัวใจรูห์มาติก พบในเด็กอายุ 7 – 15 ปี สัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเบตาฮีโมไลติก สเตร็ปโตคอคคัสที่ลำคอ ซึ่งทำให้คออักเสบ ไข้สูง ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนี้ ถ้าได้รับเชื้อโรคนี้ซ้ำอีกจะเกิดอาการอักเสบที่หัวใจ โดยเฉพาะลิ้นหัวใจ ปวดบวมที่ข้อ และมีผื่นที่ลำตัว ในรายที่เป็นมากทำให้หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ ถ้ามีอาการอักเสบซ้ำหลาย ๆ ครั้งจะเกิดพังผืดขึ้นที่ลิ้นหัวใจจนเปิดไม่เต็มที่หรือปิดไม่สนิท ทำให้ลิ้นหัวใจตีบแคบลงหรือรั่ว

อาการที่พบบ่อยในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจทั้งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคหัวใจเด็กที่เกิดภายหลังคลอด ได้แก่

  • ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย
  • หายใจเร็วกว่าปกติ บางรายมีอาการคล้ายหอบหลังออกกำลังกาย
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • น้ำหนักตัวไม่ค่อยเพิ่ม เลี้ยงไม่ค่อยโต หรือเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
  • หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ
  • เป็นหวัดบ่อยหรือปอดบวมบ่อยกว่าปกติ
  • ในบางรายมีตัวเขียวมาแต่กำเนิด หรือเขียวในช่วงหลัง

รักษาโรคหัวใจในเด็ก สามารถให้การรักษาตามชนิดของโรคนั้น ๆ โดยทั่วไปมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้

  • รักษาโดยการให้ยาบำรุงหัวใจ ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น ลดภาวะหัวใจวาย
  • รักษาโดยการใช้บอลลูนขยายตรงหลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ หรือใช้อุปกรณ์พิเศษอุดรูรั่วหรือเส้นเลือดผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • ถ้าเด็กมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติสามารถให้ยาควบคุมการเต้นผิดปกตินั้น หรืออาจรักษาโดยการจี้ด้วยไฟฟ้าบริเวณที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
  • รักษาโดยการผ่าตัดความผิดปกติของหัวใจ โดยอาจผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมดในคราวเดียว หรืออาจผ่าตัดแบบประคับประคองก่อน เพื่อบรรเทาอาการ แล้วค่อยผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมด เมื่อเด็กโตขึ้น

  • ในผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อาหารไขมันสูง เช่น เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย เป็นสาเหตุของโรคหัวใจประมาณ 31 %
  • อาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางเหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่ เวลาเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับการออกแรง หรือออกกำลังกาย เจ็บแน่นหน้าอกดีขึ้นเมื่อนั่งพัก อาจเป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั้งในเพศชายและหญิง โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้มีภาวะหัวใจวายทุกๆ 40 วินาที และทุกนาทีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 คน

สำหรับประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัย ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย แม้โรคหัวใจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ


  • อายุที่มากขึ้น อวัยวะต่างๆ ย่อมเสื่อมไปตามสภาพ
  • เพศชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิง
  • เบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 2-4 เท่า
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตที่มากกว่า 140/90 มม./ปรอท จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติ
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ภาวะอ้วน ในผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 21 จะมีผลต่อสุขภาพหัวใจ และหาก BMI มากกว่า 30 แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • การสูบบุหรี่ ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่ และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัว ในผู้หญิงที่สูบบุหรี่ 3-5 มวน/วัน และในผู้ชายที่สูบบุหรี่ 6-9 มวน/วัน การสูบบุหรี่เพิ่มอัตราการตายจากโรคหัวใจถึง 300 %
  • อาหารไขมันสูง ในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว (tallow) น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย เป็นสาเหตุของโรคหัวใจประมาณ 31 % ในประชากรโลก
  • พันธุกรรม หากพบว่าในครอบครัวสายตรงที่มี ผู้ชายอายุน้อยกว่า 55 ปี หรือผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี เป็นโรคหัวใจ เท่ากับคุณจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป

  • เจ็บหน้าอก อาการเจ็บแน่นหน้าอก 3 ลักษณะที่พึงสังเกตว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางเหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอกที่สัมพันธ์กับการออกแรง หรือออกกำลังกาย อาการเจ็บแน่นหน้าอกดีขึ้นเมื่อนั่งพัก หรือเมื่ออมยาขยายหลอดเลือดใต้ลิ้น
  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ขาบวม
  • อาการวูบ หรือหน้ามืด

หากมีอาการข้างต้น ให้คิดไว้เสมอว่าอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจค่อนข้างชัดเจน แพทย์จะส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ และทำการรักษาต่อไป ควรมาตรวจคัดกรอง เพื่อให้แน่ใจว่ามีปัญหาโรคหัวใจหรือไม่ กับแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
  • หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรัง
  • ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

1.ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  • อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้น
  • เพศชายเป็นได้มากกว่าเพศหญิง หากในวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่ากับเพศชาย
  • ประวัติครอบครัว

2.ปัจจัยที่ควบคุมได้

  • สูบบุหรี่
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • น้ำหนักมากหรืออ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • กินอาหารไม่มีประโยชน์
  • ความเครียด

ผลกระทบหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้หรือรู้ตัวช้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตามเวลา เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง ไขมันจะเริ่มเกาะที่ผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดตีบหรือแคบลง ส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการปริแตกของหลอดเลือด เกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือด และเมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเกินร้อยละ 50 คนไข้จะเริ่มมีอาการแสดง

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากคนไข้พบแพทย์ด้วยอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นที่กล่าวมาข้างต้น คนไข้จะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ของหัวใจ หากสูงขึ้นแสดงว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ ร่วมกับซักประวัติคนไข้ สอบถามระยะเวลาที่เจ็บแน่นหน้าอก หากมากกว่า 20 นาที อาจเกี่ยวข้องกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน รักษาด้วยยา
  • หากหลอดเลือดตันมาก รักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจ
  • หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ รักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ควบคุมอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม ลดน้ำหนักตัว)
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
  • กินอาหารแต่พออิ่ม หลังกินเสร็จพัก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพราะหลังกินอาหารเลือดจะไปเลี้ยงที่ท้อง หากไม่พักจะทำให้เจ็บหน้าอก
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลังการรักษาแพทย์จะให้คนไข้ฝึกเดิน จากนั้นควรเพิ่มระยะเวลาทีละน้อย
  • ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน ลดความเครียด
  • ไม่สูบบุหรี่

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว และอาหารเค็มจัด
  • กินอาหารที่มีไขมันน้อย
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามที่ต้องการ

สาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือขาดเลือด

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง
  • โรคการอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจหรือของลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุราและแอลกอฮอล์

ผู้ป่วยสามารถรักษาตัวเองได้อย่างไร

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน และ รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลสั่งอย่างสม่ำเสมอ
  • สังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิดว่าคุณมีอาการผิดปกติซึ่งต้องรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ
  • ติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน ปรับเปลี่ยนยา และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

สัญญาณเตือน นอนโรงพยาบาลเพราะน้ำท่วมปอด หากมีอาการต่อไปนี้ให้โทรศัพท์ถึงพยาบาลประจำคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หรือมาพบแพทย์

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า1.5 กิโลกรัมภายในเวลา 2 วัน
  • ข้อเท้าหน้าแข้ง บวมมากขึ้น
  • เหนื่อยหอบเวลานอนราบ
  • เหนื่อยหอบผิดปกติ
  • เพลียมากผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนจะเป็นลม
  • รู้สึกกระสับกระส่ายไม่สบายตน
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • มีอาการผลข้างเคียงจากยาที่รับประทาน
  • เจ็บ หรือ แน่นบริเวณหน้าอก เมื่อออกแรง และอาการดีขึ้นเมื่อนั่งพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น อาการที่ควรไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโดยทันที
  • แน่นหน้าอกเป็นอย่างมาก หายใจไม่ออก
  • หอบเหนื่อยมาก
  • เหงื่อออกมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
  • พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว
  • เป็นลมหมดสติ


ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

กรุณาโทรจองนัดหมายก่อนรับบริการ

โทร.02-769-2000 ต่อ 1700,1007

โทร.091-890-5266